วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Learning Outcomes 9

Thursday 3 October  2019👱



🌙ความรู้ที่ได้รับ🌙

วันนี้อาจารย์ให้นำงานที่สั่งให้ส่งคืองานแผ่นพับสารสัมพันธ์
ดิฉันทำหน่วย ฤดูกาลหรรษา





ต่อมาอาจารย์ให้นำเสนอวิจัยเกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครอง

🌷กลุ่มที่ 1
เรื่อง:การส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษา

📌วัตถุประสงค์📌
👉เพื่อศึกษาพัฒนาการทางด้านความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษาเพื่อเปรียบเทียบ👉ความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษา
📌ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ📌
  เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครอง ซึ่งจะทำให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา และเป็นแนวทางสำหรับครูในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อร่วมกันส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กต่อไป
📌ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย📌
ตัวแปรอิสระ:ชุดกิจกรรม "เล่นกับลูกปลูกภาษา"
ตัวแปรตาม:ความเข้าใจภาษา
📌สรุปการวิจัย📌
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม
“เล่นกับลูกปลูกภาษา “ มีพัฒนาการความเข้าใจภาษา โดยรวมสูงขึ้น ร้อยละ 53.72
ของความสามารถพื้นฐานเดิม
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม
“เล่นกับลูกปลูกภาษา” มีความเข้าใจภาษาโดยรวมและจำแนกรายด้าน คือการใช้คำอย่างมี
เจุดมุ่งหมายและการใช้ประโยคเพื่อสื่อความหมาย สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  🌷กลุ่มที่ 2
 เรื่อง:การศึกษาผลของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

📌วัตถุประสงค์📌
  เพื่อเปรียบเทียบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2ปี½- 4ปี ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองซึ่งคิดวิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กด้วยตัวเองหลังจากได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยกับผู้ปกครองซึ่งเรียนรู้วิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
📌ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ📌
1.ทำให้ทราบผลของความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาที่แตกต่างกัน
2.เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนเองในการสอนลูกหลานให้เกิดพัฒนาการด้านต่างๆได้ด้วยตนเอง
📌ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย📌
ตัวแปรต้น:ได้แก่การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 1/2 - 4 ปีบริบูรณ์ ให้มีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ 2 วิธี คือ

  วิธีที่ 1 ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยให้ผู้ปกครองคิดวิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย
  วิธีที่ 2 ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยให้ผู้ปกครองคิดวิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ตัวแปรตาม: ได้แก่การพัฒนาด้านความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 1/2 - 4 ปีบริบูรณ์
📌สรุปการวิจัย📌
ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย และเรียนรู้วิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
                                               🌷กลุ่มที่3
เรื่อง:การเสริมพื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม "สนุกกับลูกรัก"


📌วัตถุประสงค์📌
1.เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์
2.เพื่อศึกษาทักษะการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
📌ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย📌
ตัวแปรอิสระ: ชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรัก
ตัวแปรตาม:ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
📌สรุปการวิจัย📌
-  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุด กิจกรรมลูกรัก ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ  พบว่า...เด็กปฐมวัยหลังได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรัก มีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

  -  การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลองมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับควรปรับปรุง ( =12.90)
  และหลังทดลองที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมลูกรักมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี(=30.35)

                                               🌷กลุ่มที่4
เรื่อง:การพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย



📌วัตถุประสงค์📌
-เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
-เพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
📌ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย📌
ตัวแปรอิสระ:นิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ด้านความสนใจในการอ่านและด้านพฤติกรรมการอ่าน
ตัวแปรตาม:โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
📌สรุปการวิจัย📌
   ผู้ปกครองที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนา
นิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริม
เด็กปฐมวัยให้มีนิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง
เด็กปฐมวัยที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนา
นิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มีการพัฒนานิสัยรักการอ่านสูงขึ้น
หลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                                             🌷กลุ่มที่5
เรื่อง:การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครอง
ในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาลด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา



📌วัตถุประสงค์📌
เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
📌ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ📌
 1.ช่วยให้ผู้ปกครองเกิดความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล สามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ที่ประมวลในการแก้ปัญหา รวมถึงสามารถใช้กระบวนการเรียนรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมโปรแกรมมาประยุกต์ใช้ต่อการแก้ปัญหาด้านอื่นๆ
        2.ช่วยกระตุ้นให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กวัยอนุบาลให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของท้องถิ่นชนบทของตน
📌ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย📌
ตัวแปรอิสระ:โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กอนุบาล ด้วยรูปแบบการใช้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
ตัวแปรตาม:แบบแผนพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กอนุบาล
📌สรุปการวิจัย📌
หลังการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาลในเรื่องที่ผู้ปกครองเลือกมาแก้ปัญหา ได้แก่เรื่อง โรคฟันผุในเด็กวัยอนุบาล ดังนี้
1.ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กอนุบาล ด้านการแปรงฟัน จากพฤติกรรมการไม่ได้ติดตามการดูแลการแปรงฟันของเด็กหรือติดตามอย่างไม่สม่ำเสมอ มาเป็นพฤติกรรมการดูแลการแปรงฟันของเด็กอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในด้านการแปรงฟัน
         2.ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กวัยอนุบาล ด้านการรับประทานอาหารมีประโยชน์จากพฤติกรรมปล่อยให้เด็กเลือกซื้ออาหารรับประทานเองตามใจชอบ ซึ่งมักไม่มีคุณค่าของสารอาหาร มาเป็นพฤติกรรมดูแลรับประทานอาหารเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน กำกับดูแลการเลือกซื้อและรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิดรวมทั้งแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
                   🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼

หลังจากเรียนเสร็จกลุ่มพวกเราเดินทางไปมูลนิธิเสือใหญ่เพื่อติดต่อประสานงานใช้สถานที่ให้ความรู้ผู้ปกครอง





           💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞


💛💚💙ประเมิน                   
ตนเอง  ☢
-ตั้งใจเรียนและนำเสนองาน
-แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อน☢ 
-เพื่อนๆตั้งใจเรียนฟังที่อาจารย์สอน
-มาเรียนตรงเวลา
-แต่งกายถูกระเบียบ
อาจารย์☢
-อาจารย์ตั้งใจสอนอย่างมาก
-แต่งกายสุภาพเรียบร้อย


                       















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงการ นิทานสานรักจากครอบครัวสู่ลูกน้อย

👩👶 โครงการ นิทานสานรักจากครอบครัวสู่ลูกน้อย 👩👶 วันเสาร์ที่ 26 เดือนตุลาคม พ . ศ .2562     เวลา 08:30 – 12:00 น . ณ ห้องประชุมชั้น ...