วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Learning Outcomes 4

👱Thursday 29 th  August  2019👱


ความรู้ที่ได้รับ 
🔍🔍การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


📌💡คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
One-Way Communication   การสื่อสารทางเดียว
Two-way Communication การสื่อสารสองทาง 
Verbal Communication  การสื่อสารเชิงวัจนะภาษา
Non-Verbal Communication การสื่อสารเชิงอวัจนะภาษา
Personal Communication การสื่อสารส่วนบุคคล 
Intrapersonal Communication การสื่อสารระหว่างบุคคล 
Mass Communication การสื่อสารมวลชน 
Channel ช่องทางการส่งสาร 
Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร 
Clearly ความชัดเจ 

                   🌻🌻ความหมายของการสื่อสาร
💡การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
💡การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข
               🌻🌻ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม 
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
             🌻🌻รูปแบบของการสื่อสาร

1.รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล
(Aristotle’s Model of Communication)

2.รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล(Lasswell’sModelofCommunication)


3.รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์
(Shannon & Weaver’s Model of Communication)



4.รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์
 (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )


5.รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล
(Berlo’s Model of Communication) 


ต่อมาอาจารย์ให้เล่นเกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร
📌เกมสื่อความหมาย
ใบ้คำโดยการทำท่าทางต่อกันไปเรื่อยๆโดยไม่ส่งเสียงหรือพูดอะไร นอกจากทำท่าทางอย่างเดียวส่งต่อกันไปเรื่อยๆ ทีละคน จนถึงคนสุดท้ายให้เพื่อนคนสุดท้ายทายว่าท่าทางที่ทำนั้นคืออะไร
📌เกมทายคำ
ใบ้คำที่เพื่อนถือไว้บนหัวโดยพูดประโยคอะไรก็ได้เพื่อให้ได้คำตอบโดยห้าม มีคำที่เป็นคำตอบหลุดออกมา ถ้ามีคำใบที่เป็นคำตอบถือว่าคำนั้นไม่ได้
📌เกมพรายกระซิบ
คนแรกอ่านและจดจำประโยคแล้วกระซิบบอกต่อไปยังเพื่อนคนที่2  คนที่ 2 ไปคนที่ 3 ส่งต่อไป เรื่อยๆ จนถึงคนสุดท้าย แล้วคนสุดท้ายบอกประโยคที่ได้ยินมาว่าเป็นอะไร
          📷📷รูปภาพบรรยากาศกิจกรรม📷📷







                       🌻🌻องค์ประกอบของการสื่อสาร


1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
                              🌻🌻ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
•ผู้จัดกับผู้ชม
•ผู้พูดกับผู้ฟัง
•ผู้ถามกับผู้ตอบ
•คนแสดงกับคนดู
•นักเขียนกับนักอ่าน
•ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
•คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน
                                🌻🌻สื่อ
      ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
                               🌻🌻สาร
คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ 
การล้อเลียน  ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
                        🌻🌻วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม
                          🌻🌻ประเภทของการสื่อสาร
 1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
 2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
 3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
                         🌻🌻การสื่อสารกับตนเอง
•การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
•การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
•เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด
•บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง
•บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
•อาจเป็นการปลอบใจตนเอง การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ
                    🌻🌻การสื่อสารระหว่างบุคคล
•บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
•เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
•อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น
•สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น

         🌻🌻7 c กับการสื่อสารที่ดี

Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ 
Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ
                            💥💥สรุป 💥💥                            
    การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธาเชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียนชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน
                🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱
👏👏คำถามท้ายบท

1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
💬ตอบ:
       กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาความสำคัญทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
💬ตอบ:
           เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
💬ตอบ:
                รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล คือ ผู้ส่งสารส่งสารไปให้ผู้รับสาร เช่น ครูแจ้งข่าวสารกับผลว่าต้องการให้เด็กเอาของใช้ในบ้านมาคนละ 1 อย่างผ่านป้ายประกาศหน้าห้อง

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
💬ตอบ:

  • เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
  • มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
  • เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
  • ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
  • เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง 
เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
💬ตอบ:

  • ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
  • ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข 
  • อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งทางบวกและลบ  
  • การจูงใจ คือ การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 
  • การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล
  • ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ 
  • ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞


💛💚💙ประเมิน                   
ตนเอง  ☢
-ตั้งใจเรียนและตั้งใจร่วมกิจกรรม
-แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อน☢ 
-เพื่อนๆตั้งใจเรียนฟังที่อาจารย์สอน
-มาเรียนตรงเวลา
-แต่งกายถูกระเบียบ
อาจารย์☢
-อาจารย์ตั้งใจสอนอย่างมาก
-แต่งกายสุภาพเรียบร้อย









































วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Learning Outcomes 3

👱Thursday 22 th  August  2019👱


ความรู้ที่ได้รับ




🔍หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย🔍


📌💡คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
Educational Networking   การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
Understanding  การสร้างความเข้าใจ
Behavior change  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
Parental Involvement การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
Role of parent  บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
Parent education model  รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง
Formal education   การให้ความรู้แบบเป็นทางการ
Informal education   การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ
                 🌻🌻ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
Linda  Bierstecker, 1992  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง (parenteducation) หมายถึง การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
ฉันทนา  ภาคบงกช (2531)  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นการทำความเข้าใจและสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในการร่วมมือกันพัฒนาเด็กโดยใช้สื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเด็กสำคัญ ดังนี้

1. เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็ก โดยอาศัยพื้นฐานความรู้ และทฤษฏีเกี่ยวกับจิตวิทยาของเด็ก

2. เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ แก่เด็กได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับทางโรงเรียน

กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2544) กล่าวว่า การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองนี้มีหลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม การจัดการศึกษาอาจกำหนดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบที่จะสร้างให้ผู้ปกครองมีความรู้ของการเป็นผู้ปกครองและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับโรงเรียนในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างเต็มศักยภาพ

       🌻🌻ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

Verna, 1972  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกัน ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเกิดความสับสน
Galen,  1991 กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลที่ดีในการเลี้ยงดู และการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษาของผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จได้
วาโร  เพ็งสวัสดิ์ (2544 )  ได้กล่าวถึงความสำคัญของการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองว่า ผู้ปกครองนับเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากในการอบรมเลี้ยงดูเด็กเพราะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับเด็กมากจะทำให้ทราบพฤติกรรมต่าง ๆ ของเด็กได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของเด็กได้ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ความต้องการด้านอาหาร ความต้องการด้านความรักและความอบอุ่น ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
        🌻🌻วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
Linda  Bierstecker, 1992  ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองไว้ ดังนี้

 1. เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีดูแลเด็กและการจัดกิจกรรมของโรงเรียน

 2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กร่วมกัน

 3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านได้อย่างถูก

กุลยา ตันติผลาชีวะ (2542)  ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองว่า มีดังต่อไปนี้
 1. สร้างเสริมความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก
 2. สร้างเสริมความเข้าใจในบทบาทของผู้ปกครอง และอิทธิพลของครอบครัวที่มีต่อเด็ก
 3. สร้างเจตคติที่ถูกต้องในการเลี้ยงดูเด็ก
 4. สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองในการดูแลเด็ก
 5. สร้างความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก
       
🌻🌻รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
   การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
- การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
- การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย


อรุณี  หรดาล (2536 : 6) 
ได้อธิบายรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองไว้ ดังนี้
1. การมีส่วนร่วมที่บ้าน หมายถึง การที่ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาปฐมวัยในการให้ข้อคิดเห็นเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ สร้างลักษณะนิสัยที่ดี รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กขณะอยู่บ้าน ซึ่งผู้ปกครองสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง หัดให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง ช่วยให้คำแนะนำเด็กเกี่ยวกับการทำงานที่ครูมอบหมาย การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นต้น
2. การมีส่วนร่วมในสถานศึกษา หมายถึง การที่ผู้ปกครองเข้าไปร่วมกิจกรรม หรือช่วยเหลืองานของสถานศึกษาปฐมวัยที่จัดขึ้น เช่น การการเข้าร่วมประชุมผู้ปกครอง การไปทัศนศึกษาร่วมกับสถานศึกษา การร่วมกิจกรรมในวันหยุด เป็นต้น
กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2542)  ได้แบ่งรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแบบผสมผสานเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมไทยเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. ระดับห้องเรียน
2. ระดับโรงเรียน
3. ระดับชุมชน
4. ระดับมวลชน
🌻🌻แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ฉันทนา  ภาคบงกช (2531) 
ได้เสนอแนวทางในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
1. สำรวจความสนใจ ความต้องการ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น 
- เชิญวิทยากรมาบรรยาย  อภิปราย สาธิต
- จัดห้องสมุดและศูนย์ของเล่นสำหรับเด็ก
- จัดศูนย์แนะแนวผู้ปกครองเพื่อให้คำแนะนำ
- จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง





🌻🌻บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
วราภรณ์  รักวิจัย (2533) กล่าวว่า บทบาทของผู้ปกครองมี ดังนี้
1. ให้การอบรมเลี้ยงดูและปัจจัย 4
2. ให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ฝึกอบรมเด็กให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
4. ถ่ายทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในครอบครัวให้แก่เด็ก
5. ช่วยแก้ปัญหาและอบรมสร้างวินัยอันดีให้แก่เด็ก
6. จัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทุก ๆ ด้าน
7. เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก
8. เสริมสร้างบุคลิกภาพและการสร้างสรรค์
9. ปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เด็ก
       📷📷รูปภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน📷📷




               🌽🌽🌽🌽🌽🌽🌽🌽🌽

👏👏คำถามท้ายบท



💡1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
💬ตอบ: 
เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการพัฒนาเด็ก รวมถึงให้การดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านและโรงเรียนไปในทิศทางเดียวกัน
💡2.  ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง จงอธิบาย และยกตัวอย่างของกิจกรรม
💬ตอบ:
1) รูปแบบการใช้บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ เช่น การไปเยี่ยมบ้าน ซักถามความเป็นอยู่ของเด็ก 
2) รูปแบบการใช้โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ เช่น การจัดนิทรรศการให้ความรู้ในเรื่องต่างๆแก่ผู้ปกครอง 
3) รูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ เช่น การการเผยแพร่ความรู้บนเฟซบุ๊ก
💡3. นักศึกษามีแนวคิดอย่างในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
💬ตอบ:
การใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครองเห็นสิ่งที่ดีเพราะจะช่วยผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาว่างสะดวกยิ่งยิ่งและเป็นการสร้างความคุ้นเคยทำความรู้จักพื้นเพของเด็กได้อีกด้วย  แต่การใช้บ้านเป็นฐานการให้ความรู้นั้นอาจจะทำให้ล่าช้าในการให้ข้อมูล
💡4.  องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
💬ตอบ:
1.วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก  
2.พัฒนาการของเด็ก 
3.การยอมรับและเข้าใจในตัวเด็ก



💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞


ประเมิน                                                                            
ตนเอง  ☢
-ตั้งใจเรียน
-แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อน☢ 
-เพื่อนๆตั้งใจเรียนฟังที่อาจารย์สอน
-มาเรียนตรงเวลา
-แต่งกายถูกระเบียบ
อาจารย์☢
-อาจารย์ตั้งใจสอนอย่างมาก
-แต่งกายสุภาพเรียบร้อย































โครงการ นิทานสานรักจากครอบครัวสู่ลูกน้อย

👩👶 โครงการ นิทานสานรักจากครอบครัวสู่ลูกน้อย 👩👶 วันเสาร์ที่ 26 เดือนตุลาคม พ . ศ .2562     เวลา 08:30 – 12:00 น . ณ ห้องประชุมชั้น ...